วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต

1.สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร
           ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปธรรม
(สามารถจับต้องและมองเห็นได้)และนามธรรม (ตัวอย่างเช่นวัฒนธรรมแบบแผน ประเพณี ความเชื่อ)
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกันเป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ
       ที่มา-http://environment.exteen.com/20061210/entry-2

2.องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
    1. สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  เช่น ป่าไม้ ภูเขา ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร     2.สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรมขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
       ที่มา-http://environment.exteen.com/20061210/entry-2

3.สาเหตูของปัญหาสิ่งแวดล้อม       สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินับวันแต่จะถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ โดยที่สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายและสูญเสียได้ 3 ทาง คือ

    ซึ่งการสูญเสียเนื่องจากมนุษย์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้

1. การเพิ่มของประชากร       ปัจจุบัน การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น การที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึง ความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตขั้นต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย (สุพจน์ แสงมณี, 2546) ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของพื้นที่ทำกินทางการเกษตร จนมีการบุกรุกทำลายป่า ทำให้เกิดเสียสมดุลทางธรรมชาติ อีกทั้งความต้องการในการใช้ ้ทรัพยากรอื่น ๆ มากขึ้นเช่น น้ำ แร่ธาตุ พลังงานอากาศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเพิ่มของประชากรมาก ขึ้นในแต่ละปี เป็นสาเหตุสำคัญที่ที่ทำให้การใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นและเป็นผลให้จำนวน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมา
2. การขยายตัวของเมือง       การ ขยายตัวของชุมชนหรือเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากการขยายตัวของ เมืองอย่างรวดเร็วจะทำให้เกิดปัญหาการขาดการวางแผนการวางผังเมืองไว้ล่วง หน้า ทำให้เกิดปัญหาขึ้นอีกทั้งการขยายตัว ของเมือง ปกติแล้วจะเกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกิดขึ้นด้วย และในขั้นตอนต่าง ๆ ของโรงงานอุตสาหกรรมถ้าหากขาดการวางแผน และการควบคุมที่ดีก็จะส่งผลต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย 3. การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่        เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร โดยการใช้สารเคมีต่าง ๆ เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลงทำให้เกิดการตกค้าง ของสารเหล่านี้ในดิน และอาจขยายไปสู่แหล่งน้ำและแหล่งต่าง ๆ ในระบบนิเวศ จนเกิดผลต่าง ๆ ตามมา รวมถึงเกิดการสะสม ในสายใยอาหารทางด้านอุตสาหกรรม สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตและสารที่เป็นผลเกิดจากกระบวนการผลิต เช่น ตะกั่ว ปรอท
สารหนู เป็นต้น จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีขั้นตอนการกำจัดส่วนที่ตกค้าง ( Residuals ) ให้หมดสิ้นไปได้ยาก และจะเกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย
4. การสร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ        การสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ทรัพยากรหลัก เช่นป่าไม้ถูกทำลาย ทรัพยากรดิน น้ำ สัตว์ป่าจึงพลอย ได้รับ ผลกระทบกระเทือนตามไปด้วย ทำให้มนุษย์เข้าสู่พื้นที่ป่าที่เหลือได้ง่ายกว่าเดิม เนื่องจากการไปมาสะดวก การทำลายจึง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อป่าเสื่อมโทรมหรือหมดไป ถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าถูกทำลาย โอกาสถูกล่ามีมากขึ้น สัตว์บางชนิดหาอาหาร เป็นไปด้วยความยากลำบาก ในที่สุดก็สูญพันธุ์ไป เป็นต้น 5. การกีฬา        ส่วนใหญ่เกิดกับทรัพยากรสัตว์ป่า เช่นการยิงนก ตกปลา และการล่าสัตว์เป็นต้น ถ้าทำเพื่อการกีฬาที่แท้จริงก็ไม่มีปัญหา เรื่องการ ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากนัก แต่เมื่อใดที่เป็นการแข่งขันเพื่อทำสถิติด้านจำนวน ขนาดอาวุธร้ายแรงและทันสมัย จะถูกนำมา ใช้มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่าที่ได้มาก็จะนำส่วนหนึ่งของที่ได้หรือบางส่วนของร่างกายไปเป็นอาหาร หรือเครื่องใช้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะทิ้ง ไว้ในป่า ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่คุ้มกับการสูญเสียชีวิตและพันธุกรรมของสัตว์ป่า 6. การสงคราม        ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้นำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น การนำทรัพยากรแร่ธาตุมาใช้เพื่อการผลิตอาวุธและเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายก็ถูกทำลายไป บางครั้งต้องเร่งขุดเจาะน้ำมันดิบเพื่อขาย แล้วนำเงินตราไปซื้ออาวุธที่ทันสมัยมี ประสิทธิภาพการทำลายสูง มาต่อสู้ซึ่งกันและกัน ผลของสงครามก็คือการสูญเสียทั้งสองฝ่ายในด้านทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากร อื่น ๆ เช่นการทิ้งระเบิด ทำลายชีวิตและทรัพยากรของมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติการทำลายบ่อน้ำมัน ของอีรักในปี พ . ศ . 2536 ทำให้สูญเสียทรัพยากร ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปีในการเกิดไปอย่างน่าเสียดายและยังส่งผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมเกือบทั่วโลก7. ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์        หลาย ๆ ครั้งที่คนเราทำลายสิ่งแวดล้อมเพราะความไม่รู้ถึงสาเหตุและผลกระทบ ขาดข้อมูลความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้เราเข้าถึง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ในขณะที่นักอนุรักษ์นึกถึงสิ่งแวดล้อมในรูปของระบบนิเวศของธรรมชาติ ป่าไม้และสัตว์ป่า แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับนึกถึงวัตถุดิบที่เป็นปัจจัยในการผลิตเป็นต้นทุนนัก เศรษฐศาสตร์ จะนึกถึงทรัพยากรที่ต้องใช้ให้คุ้มค่า ชาวนาจะนึกถึงฝน ภาคท่องเที่ยวนึกถึงเงิน การทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้องของเกษตรกร ฯลฯ สังคมยังขาดความเข้าใจถึง สิ่งแวดล้อมในลักษณะรวมที่เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เมื่อเกิดความเสียหายที่ใดที่หนึ่งก็จะมีผลกระทบแก่กันและ กันบางครั้งลืมไปว่า ความสนุกชั่วครู่ชั่วยามของตนเป็นสิ่งที่ทำลายความเป็นธรรมชาติและความงดงาม ของสถานที่
       ที่มา-http://tummachatsingwadlom.igetweb.com/index.php?mo=3&art=277238

4.ผลที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

       ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
     1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ   ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
     2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
     ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเมืองเรา คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่างมากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรา  การที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็นถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อถึงหน้าน้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง น้ำท่วมก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้
     ปัญหาขยะก็เป็นมลพิษที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การเก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะสะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดลักษณะเสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน้ำ การเน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ   การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียงติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ บางคนดัดแปลงยานพาหนะของตนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำให้เสียงดังกว่าปกติ โดยนิยมกันว่าเสียงที่ดังมาก ๆ นั้นเป็นของโก้เก๋ คนเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าตนกำลังทำอันตรายให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น เสียงที่ดังเกินขอบเขตจะทำให้เกิดอาการทางประสาท ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมาก ๆ จะมีลักษณะหูเสื่อม ทำให้การได้ยินเสื่อมลง เป็นต้น
      ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ในสิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปนมาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ
      การใช้สารมีพิษเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ความสนใจในโทษของสารเคมีที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชยังมีน้อยมาก ในประเทศไทย วัตถุมีพิษที่ใช้ในกิจการดังกล่าวส่วนใหญ่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่นิยมใช้กันอยู่มีประมาณ 100 กว่าชนิด วัตถุมีพิษเหล่านี้ผสมอยู่ในสูตรต่าง ๆ มากกว่า 1,000 สูตร เมื่อมีการใช้วัตถุมีพิษอย่างแพร่หลายมากเช่นนี้ สารมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารมีพิษตกค้างในอาหาร ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับอันตราย จึงปรากฎมากขึ้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ พบว่า ปริมาณสารมีพิษประเภทยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในน้ำและในสัตว์น้ำมีแนวโน้มของการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางกรณีปริมาณวัตถุมีพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ประชาชนใช้บริโภคอยู่ จะมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บางประเทศกำหนดไว้ก็ตาม หากคิดว่าโดยปกติคนไทยจะนิยมบริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารหลักด้วยแล้ว ปัญหานี้ก็จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอันตรายมาก
ที่มา-http://www.thaigoodview.com.

5.ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ

      
1. มนุษย์

     2. สัตว์และโรคต่าง ๆ
     3. ปรากฏการณ์ธรรมชาติ 

      ผลสืบเนื่องอันเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอ เนื่องจาก มีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่ประหยัด อาทิ ป่าไม้ถูกทำลาย ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ขาดแคลนน้ำ ภาวะมลพิษ (Pollution) เช่น มลพิษในน้ำ ในอากาศและเสียง มลพิษในอาหาร สารเคมี อันเป็นผลมาจากการเร่งรัดทางด้านอุตสาหกรรมนั่นเอง
    กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหาดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น
     1.ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ   ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได้แก่มูลฝอย
     2. ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ หรือทางดินที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น การที่สภาวะแวดล้อมของเราเปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้น หากมิได้มีการวางแผนอย่างถี่ถ้วนรัดกุม การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นอาจกลายเป็นปัญหามลพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้
     ตัวอย่างที่ชัดเจนสำหรับเมืองเรา คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้ก่อให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่างมากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเรา  การที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็นถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เมื่อถึงหน้าน้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกครั้ง น้ำท่วมก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้
     ปัญหาขยะก็เป็นมลพิษที่สำคัญอีกประการหนึ่ง หากเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การเก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาสำคัญของเมืองใหญ่ ๆ ต่าง ๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะสะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ทำให้เกิดลักษณะเสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน้ำ การเน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้น ๆ   การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียงติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ บางคนดัดแปลงยานพาหนะของตนไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ ทำให้เสียงดังกว่าปกติ โดยนิยมกันว่าเสียงที่ดังมาก ๆ นั้นเป็นของโก้เก๋ คนเหล่านั้นหารู้ไม่ว่าตนกำลังทำอันตรายให้เกิดขึ้นทั้งกับตัวเองและกับผู้อื่น เสียงที่ดังเกินขอบเขตจะทำให้เกิดอาการทางประสาท ซึ่งอาจแสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ เป็นต้น นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมาก ๆ จะมีลักษณะหูเสื่อม ทำให้การได้ยินเสื่อมลง เป็นต้น
      ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ในสิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปนมาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ
      การใช้สารมีพิษเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นวิธีการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ความสนใจในโทษของสารเคมีที่ใช้ในการปราบศัตรูพืชยังมีน้อยมาก ในประเทศไทย วัตถุมีพิษที่ใช้ในกิจการดังกล่าวส่วนใหญ่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ ที่นิยมใช้กันอยู่มีประมาณ 100 กว่าชนิด วัตถุมีพิษเหล่านี้ผสมอยู่ในสูตรต่าง ๆ มากกว่า 1,000 สูตร เมื่อมีการใช้วัตถุมีพิษอย่างแพร่หลายมากเช่นนี้ สารมีพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม และสารมีพิษตกค้างในอาหาร ซึ่งทำให้ทั้งคนและสัตว์ได้รับอันตราย จึงปรากฎมากขึ้น จากการวิเคราะห์ตัวอย่างต่าง ๆ พบว่า ปริมาณสารมีพิษประเภทยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ที่ตกค้างในน้ำและในสัตว์น้ำมีแนวโน้มของการสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าบางกรณีปริมาณวัตถุมีพิษที่สะสมอยู่ในสัตว์น้ำที่ประชาชนใช้บริโภคอยู่ จะมีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่บางประเทศกำหนดไว้ก็ตาม หากคิดว่าโดยปกติคนไทยจะนิยมบริโภคสัตว์น้ำเป็นอาหารหลักด้วยแล้ว ปัญหานี้ก็จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวอันตรายมาก

     ระบบนิเวศ หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง
มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย,แหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต
Logos แปลว่า เหตุผล, ความคิด  ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศ 
   สิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้
1. ต้องมีการเจริญเติบโต
2. เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย
3. สืบพันธุ์ได้
4. ประกอบไปด้วยเซลล์
5. มีการหายใจ
6. มีการขับถ่ายของเสียต่างๆ
7. ต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ
   ประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาเดียวกันกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อมโลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกันแหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง แหล่งที่อยู่อาศัยของกลุ่มสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งบนบกและในน้ำ
   สิ่งแวดล้อม (Environment)  หมายถึง
1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่
2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
 ส่วนประกอบในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วนด้วยกัน คือ
1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ซึ่งแบ่งย่อยออกไปตามหน้าที่ ได้ดังนี้
   1.1 ผู้ผลิต หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้ด้วยตัวเองจากพลังงานแสงอาทิตย์เพราะมีสารสีเขียวที่เรียกว่า คลอโรพีลล์ซึ่งได้แก่ พืชสีเขียวทุกชนิดและบัคเตรีบางชนิดรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000ชนิด พืชเหล่านี้สร้างอาหารโดยอาศัยพลังงานจากดวงอาทิตย์และอนินทรียสาร
   1.2 ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตัวมันเองไม่สามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยการกินพืชและสัตว์อื่นๆ
   1.3 ผู้ย่อยสลาย เป็นพวกที่ปรุงอาหารเองไม่ได้ ต้องอาศัยซากของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นอาหาร ได้แก่ จุลินทรีย์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่ ได้แก่ บัคเตรี เห็ด รา ยีสต์ ฟังไจ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เหล่านี้ จะทำการย่อยสลายซากชีวิตต่างๆ โดยการขับเอนไซม์ออกมาย่อยสลายจนอยู่ในรูปของสารละลาย แล้วจากนั้นก็ดูดซับเข้าไปในลำตัวของมันต่อไป การย่อยสลายในระดับดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ย่อยสลายจะทำหน้าที่เปลี่ยนสารอินทรีย์เหล่านี้ให้เป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพื่อให้พืชสีเขียวดังไปใช้สร้างธาตุอาหารต่อไปใหม่
2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งประกอบด้วย
   2.1 อนินทรียสาร ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน น้ำ ไฮโดรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ
   2.2 อินทรียสาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ฯลฯ ซึ่งพืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กทั้งหลาย ทำการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์
   2.3 ภูมิอากาศ ได้แก่ แสง อุณหภูมิความชื้น น้ำฝน
       ที่มา-http://th.wikipedia.org/wiki.com

6.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบนิเวศ
   1. แนวความคิดภาวะแวดล้อมต้องเป็นไป เน้นอิทธิพลสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เหนือมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในสมัยแรกเริ่มที่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก
   2. แนวความคิดภาวะแวดล้อมอาจเป็นไป ความเป็นอยู่ของมนุษย์ไม่ได้อยู่ภายใต้อิทธิพลสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ มนุษย์สามารถเลือกใช้หรือแก้ไขแต่งเติมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับความต้องการได้ ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี การปกครอง เป็นต้น
   3. แนวความคิดคาดการณ์ล่วงหน้า มนุษย์สามารถนำประสบการณ์ ข้อมูล ความรู้สึก สิ่งเร้า มาใช้ตีความ เพื่อแก้ปัญหาและปรับตัวให้เข้าให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
   4. แนวความคิดที่ว่ามนุษย์เป็นผู้เปลี่ยนแปลงโลก มนุษย์เป็นผู้ควบคุมธรรมชาติ และในอนาคตมนุษย์จะเป็นผู้ทำลายโลก
   5. แนวความคิดสิ่งแวดล้อมทำลายมนุษย์ จากการที่มนุษย์ดำรงชีพด้วยการรบกวนหรือทำลายสิ่งแวดล้อม อันมีผลต่อสมดุลธรรมชาติ เกิดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม อันเป็นผลให้ย้อนกลับมากระทบต่อชีวิตของมนุษย์
   6. แนวความคิดมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในภาวะที่สมดุล เนื่องจากมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
       ที่มา-http://wannaphrom.blogspot.com/2009/07/blog-post_20.html

7.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
      ปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของชีวิตคือสสารและพลังงาน  ซึ่งไม่มีชีวิตใดสร้างขึ้นมาได้ด้วยตนเอง  ที่มาของสสารและพลังงานมาจากสิ่งแวดล้อม  ในขณะเดียวกันชีวิตก็ไม่สามารถเก็บสสารและพลังงานนั้นเอาไว้ในตัวได้ตลอดเวลา  ดังนั้นชีวิตจึงจำเป็นต้องถ่ายเทสสารและพลังงานออกจากตัวซึ่งก็เข้าสู่สิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน  ดังนั้นชีวิตทั้งมวลซึ่งรวมถึงมนุษย์จึงไม่สามารถดำรงอยู่โดยปราศจากสิ่งแวดล้อมที่จะรองรับการถ่ายเทสสารและพลังงานเอาไว้  นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมยังเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ชีวิตต่างๆ  ต้องมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด  ซึ่งมีผลต่อการวิวัฒนาการของชีวิตในที่สุด (จิรากรณ์  คชเสนี, 2549 : 7)
สิ่งแวดล้อมรอบๆ  ตัวมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ  หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น  ล้วนมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อความเป็นอยู่  การอยู่รอด  และมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและมนุษย์  รวมทั้งวิธีจัดการกิจกรรมต่างๆ  ของมนุษย์เป็นอย่างมาก  การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของโลก  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา  สภาพลมฟ้าอากาศ  ลักษณะภูมิประเทศ  ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์  เพราะสิ่งแวดล้อมจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบ  การกระจายผลผลิตของสังคมพืชและสัตว์  ซึ่งส่งผลสะท้อนไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากที่สุด  โดยจะเห็นได้ค่อนข้างชัดเจนจากวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในแต่ละยุค  แต่ละสมัย  ขึ้นอยู่กับลักษณะสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันเป็นวงจรไม่สามารถที่จะบอกได้ชัดเจนว่าสิ่งใดมีอิทธิพลต่อสิ่งใดมากกว่ากัน  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของมนุษย์และกิจกรรมของมนุษย์ก็เป็นตัวการสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม  เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง  ย่อมส่งผลกระทบต่อของมนุษย์ให้เปลี่ยนแปลงอีกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและจะดำเนินต่อไปในอนาคต (ภาณี  คูสุวรรณ์  และศจีพร  สมบูรณ์ทรัพย์, 2542 : 4)
สรุปฉบับความคิดของเจ้าตัว  ได้ดังนี้  มนุษย์เกิดจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นมนุษย์จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมกลายเป็นส่วนหนึ่งโดยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  แต่มนุษย์มีบทบาทมากในการกำหนดความเป็นไปของสิ่งแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็นการการนำมาใช้  การเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ดีขึ้น  รวมถึงทำลายเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง  ล้วนมีผลกระทบที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น  แต่มนุษย์หารู้ไม่ว่าสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายล้อมพวกเขานั้นถูกกำหนดให้สัมพันธ์กันในทุก ๆ  ด้าน  เหมือนเป็นกระจกสะท้อนผลการกระทำของตัวเราเองด้วยซ้ำ  หรือมองอีกในแง่ของธรรมะก็อาจเปรียบได้ว่า  "ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว"  ก็คงไม่ผิด  ยกตัวอย่างเช่น  การทำลายป่าไม้ของมนุษย์ในระยะ  10  ปีที่ผ่านมา  จากสถิติของกระทรวงทรัพยากรฯ ไม่มีปีใดเลยที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นหรืออยู่ในปริมาณคงที่ แต่ลดลงอย่างน่าใจหาย  ผลที่ตามมาก็คือ  น้ำท่วม  ดินถล่ม  อากาศเสีย  ฯลฯ  บางกรณีอาจจะน้อยแต่ก็มีส่วน  อีกตัวอย่างคือ  การลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ทั้งในและต่างประเทศ ยิ่งเศรษฐกิจดีเท่าไร  โรงงานอุตสาหกรรมยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น  ถึงจะมีมาตรการควบคุมควันพิษ  และน้ำทิ้งจากโรงงาน  แต่ก็ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อยู่ดี  เช่นน้ำมีมลสาร  อากาศมีมลสาร  เป็นต้น 
ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนแต่ถูกสะสมมาเป็นสิบสิบปีหรืออาจจะมากกว่านั้น  แต่มนุษย์ก็หลีกเลี่ยงการพัฒนาไม่ได้  อาจจะเพื่อระดับความเป็นอยู่  หรือความสะดวกสบาย  ก็แล้วแต่กรณีต่าง ๆ  นา ๆ  แต่ก็ไม่ใช่ว่ามนุษย์ได้ละเลยผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเหล่านี้  ยังมีหลายกลุ่มหลายหน่วยงานที่มองเห็นและกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นและได้ปฏิบัติทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น  แต่ในที่สุดแล้วกลุ่มคนส่วนใหญ่ละเลยและมองข้ามปัญหาเหล่านี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่และคิดว่าตัวเองเป็นเพียงคนคนนึงคงแก้ไขอะไรไม่ได้  แต่หารู้ไม่ว่ากลุ่มคนส่วนน้อยจะรวมเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ถ้าทุกคนทำ ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็จะบรรเทาลง  หรือจะรอให้ธรรมชาติปับตัวของมันเอง  เมื่อถึงวันนั้น  ชีวิตคงเริ่มต้นจาก 1 ใหม่ (ยุคสร้างโลก)
ที่มา-http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?club

8.ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต   1.สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต (Physical environment/Abiotic factor) ซึ่งประกอบด้วย
สารประกอบอินทรีย์และ
อนินทรีย์(Abiotic substant)และสภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่ว่าจะเป็น

-สภาพภูมิอากาศ:อุณหภูมิ น้ำ ความชื้น แสง ลม
-ลักษณะทางธรณีวิทยา: ดิน หิน แร่ธาตุ
-การเปลี่ยนแปลงจากสิ่งรบกวน(Disturbance):
การรบกวนตามธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟ แผ่นดินไหว พายุการรบกวนที่มีสาเหตุจากมนุษย์

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพไม่ว่าจะเป็น แสงสว่าง อุณหภูมิ แร่ธาตุ ความชื้น PH ความเค็ม กระแสลม กระแสน้ำ ฯลฯ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตในหลายๆด้านเช่นจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต  จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิต  รูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต
       ที่มา-http://light128.exteen.com/20070107/entry-3

9.อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม   ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง